“มุนษย์” ถือเป็นสิ่งมีชีวิตอย่างหนึ่งบนโลกที่มีความซับซ้อน ร่างกายมุนษย์นั้นประกอบไปด้วย เส้นประสาท กล้ามเนื้อ กระดูก รวมกันเรียกว่า อวัยวะ นอกจากนี้ยังมี น้ำ โลหิต เอ็นไซม์ต่างๆ ที่ไหลเวียนอยู่ภายในร่างกาย มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยสารอาหาร แต่จะมีชีวิตได้นานแค่ไหนก็ขึ้น อยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ส่งผลต่อ นาฬิกาชีวิต หรือ Body clock ด้วย ถ้าเทียบแล้วร่างกลไลร่างกายมนุษย์ ก็ไม่ต่างจากกลไกของหุ่นยนต์ ที่ต้องดูแล รักษา และฟื้นฟู ดังนั้น Johnson Heath Tech จึงอยากชวนทุกคนให้มารู้จักนาฬิกาชีวิต 24 ชั่วโมงว่ามีอะไรบ้าง
นาฬิกาชีวิต คืออะไร
Body Clock หรือ นาฬิกาชีวิต คือ วงจรระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายของมนุษย์ ซึ่งจะควบคุมพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราในแต่ละวัน เช่น ส่งผลต่อการตื่น การนอนหลับ การเผาผลาญไขมันในร่างกาย หรือระบบภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นต้น ให้ร่างกายในแต่ละวันของเราทำงานตรงเวลา หากเราใช้ชีวิตที่สวนทางกับตารางเวลานาฬิกาชีวิต 24 ชั่วโมงหรือบางคนอาจเรียกว่า นาฬิกาชีวภาพ ระบบต่าง ๆ ในร่างกายของเราก็จะแปรปรวนและทำงานผิดปกติ ทำให้เราเผชิญกับโรคร้ายต่าง ๆ ได้มากขึ้น
ตารางนาฬิกาชีวิต 24 ชั่วโมง
01.00-03.00 น ช่วงเวลาทำงานของตับ นอนหลับดีที่สุด
ตับ ทำหน้าที่สะสมสารอาหารและกำจัดสารพิษ การนอนหลับให้สนิท ช่วยส่งเสริมการทำงาน ของตับ เวลานี้ไม่เหมาะที่จะทานอาหาร เพราะทำให้ตับทำงานหนักและเกิดสารพิษตกค้างในตับได้
03.00-05.00 น. ช่วงเวลาทำงานของปอด ตื่นเช้าขึ้นมาสูดอากาศสดชื่น
ปอด ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ ช่วยในการหายใน การตื่นมาสูดอากาศที่ดียามเช้า ทำให้ปอดฟอกเลือดได้อย่างเต็มที่
05.00-07.00 น. ช่วงเวลาทำงานของลำไส้ใหญ่ ต้องไปขับถ่าย
ลำไส้ใหญ่ ทำหน้าที่ ดูดซึมสารอาหาร กำจัดกากของเสียและสารพิษจากลำไส้เล็ก ช่วงเวลานี้ของเสียจะถูกขับออกจากร่างกายได้ดีที่สุด และเพื่อเตรียมพร้อมร่างกายสำหรับเช้าวันใหม่ อาจมีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Streching) เช่น การเล่นโยคะท่าพื้นฐาน
07.00-09.00 น. ช่วงเวลาทำงานของกระเพาะอาหาร ข้าวเช้าสำคัญตรงนี้
กระเพาะอาหาร ทำหน้าที่ ผลิตน้ำย่อยซึ่งเป็นกรด ในการย่อยอาหาร เมื่อย่อยสารอาหารต่างๆได้ดี ร่างกายก็ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน นี่เป็นช่วงนาฬิกาชีวิตที่สำคัญที่ร่างกายจะได้รับสารอาหารที่ดีที่มีประโยชน์เพื่อการสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่แข็งแรง
09.00-11.00 น. ช่วงเวลาทำงานของม้าม ทำงานกันเถอะ
ม้าม ทำหน้าที่ ในการควบคุมปริมาณของเลือดในร่างกายให้คงที่ นอกจากนี้ม้ามยังสร้างแอนติบอดีในการต่อต้านเชื้อโรค ช่วงเวลานี้แนะนำว่าไม่ควรจะทานอาหาร หรือ นอนหลับ เพราะจะให้ม้ามอ่อนแอและทำงานได้ไม่ดี
11.00-13.00 น. ช่วงเวลาทำงานของหัวใจ เบาๆผ่อนคลาย
หัวใจ ทำหน้าที่ สูบเลือดสู่หลอดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ในช่วงเวลานาฬิกาชีวิตนี้ควรเลี่ยงให้หัวใจทำงานหนักจนเกินไป
13.00-15.00 น. ช่วงเวลาทำงานของลำไส้เล็ก งดกินช่วงนี้ สมองแล่น
ลำไส้เล็ก ทำหน้าที่ ดูดซึมสารอาหาร เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ เวลานี้ควรละเว้นไม่ทานอาหารทุกชนิด เพื่อให้ลำไส้เล็กทำงานได้เต็มที่ ส่งผลดีต่อการทำงานของสมองซีกขวา
17.00-19.00 ช่วงเวลาทำงานของไต สดชื่น แจ่มใส ไม่อยู่นิ่ง
ไต ทำหน้าที่ กรองน้ำและของเสียออกจากร่างกาย เป็นเวลาที่ไม่ควรเข้านอน เพราะไตจะทำงานหนัก ควรหากิจกรรมทำไม่ปล่อยร่างกายให้อยู่นิ่ง อย่างการออกกำลังกายแบบ Cardio เช่น วิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้า เดินบนเครื่องเดินวงรีไฟฟ้า ปั่นจักรยานไฟฟ้า เพื่อเพิ่มความดันโลหิต ทำให้ร่างกายสดชื่น เสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
19.00-21.00 ช่วงเวลาทำงานของเยื่อหุ้มหัวใจ ทำสมาธิ ผ่อนคลาย
เยื่อหุ้มหัวใจ ทำหน้าที่ ป้องกันแรงเสียดสีระหว่างหัวใจกับอวัยวะใกล้เคียง ควรหากิจกรรมสบายๆทำ หลังจากที่ใช้ร่างกายมาทั้งวันควรยืดคลายกล้ามเนื้อ (Stretching) เช่น การเล่นโยคะ การเล่นพิลาทิส
21.00-23.00 น. ช่วงเวลาทำงานของอุณหภูมิในร่างกาย ต้องทำให้ร่างกายอบอุ่น
ในเวลานี้ร่างกายต้องการความอบอุ่น จึงไม่ควรอาบน้ำเย็น เหมาะแก่การพักผ่อน หรืออาจจะทำการนวดผ่อนคลายเบา ๆ เพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนของเลือดที่ดีและลดความเครียดก่อนเข้านอนด้วยเก้าอี้นวดไฟฟ้าที่บ้าน
23.00-01.00 น. ช่วงเวลาทำงานของถุงน้ำดี ดื่มน้ำก่อนนอน
ถุงน้ำดี ทำหน้าที่ กักเก็บน้ำดี เพื่อย่อยไขมัน แต่หากถุงน้ำดีเข้มข้นเกินไป จะอาจทำเหงือกบวม ปวดฟัน ส่งผลต่อนอนหลับ ดังนั้นจึงควรดื่มน้ำเปล่าเข้าไปเจือจาง
เมื่อเราตั้งใจใช้ชีวิตตามนาฬิกาชีวิตที่ดีแล้ว เราก็จะมีร่างกายแข็งแรงขึ้นส่งผลให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพและห่างไกลจากโรคร้ายต่าง ๆ ได้อย่างแน่นอน นอกจากการทานอาหารที่มีประโยชน์ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ แต่สิ่งที่หลายคนยังละเลย คือการออกกำลังกายให้เหมาะสมและหลายหลากประเภททั้งแบบ Cardio, Strength, Stretching, Boxing, Dancing แต่ทุกอย่างต้องทำให้พอดีไม่มากหรือน้อยเกินไป เพราะการมีชีวิตอยู่ให้ยืนยาวต้องควบคู่กับการมีสุขภาพที่ดีด้วยถึงจะมีความสุข