RHR คืออะไร

RHR คืออะไร

Posted by KTn develop on

RHR คืออะไร หลายท่านที่ออกกำลังกายอาจคิดว่าสิ่งนี้ไม่สำคัญเท่าไหร่

กับการออกกำลังกายประจำวัน แต่หลายท่านคงคาดไม่ถึงว่า RHR นั้นมีผลอย่างมากกับการออกกำลังกายของเรา โดย RHR คืออะไรและส่งผลอย่างไรกับเราบ้าง ในวันนี้เราจะมาอธิบายถึงหน้าที่และความหมายของ RHR กันครับ

สำหรับผู้ออกกำลังกาย คงจะคุ้นเคยกับคำว่า Heart Rate หรืออัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกสภาวะของร่างกายขณะเคลื่อนไหว ซึ่งเครื่องออกกำลังกายในยุคปัจจุบันนี้ ได้นำ Heart Rate มาสร้างเป็นโปรแกรมเพื่อตั้งเป้าการออกกำลังกายของผู้ใช้กันอย่างแพร่หลาย ในวันนี้เราจะมาพูดถึงค่า Heart Rate อีกแบบหนึ่ง นั่นคือ Resting Heart Rate หรือย่อว่า RHR ซึ่งมีความสำคัญต่อการบอกสุขภาพของเราเช่นกัน
“Resting Heart Rate” หมายถึง อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ภายใน 1 นาที โดยไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ ซึ่งนั่นรวมถึงการตื่นนอนของเราด้วยเช่นกัน ค่า RHR นั้นเป็นตัวเลข ที่บ่งบอกถึงระดับสมรรถภาพทางร่างกายของเราว่าเป็นอย่างไรและสุขภาพดีมากแค่ไหน
รวมถึงการบอกปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับสุขภาพทั้งร่างกายของเรา ไม่ว่าจะเป็นร่างกาย หรือสุขภาพทางจิตใจและสภาวะทางอารมณ์ เช่น ความเครียด ความกังวล ความสุข อาการซึมเศร้า อาการอ่อนเพลียอย่างรุนแรง นอกจากนี้ค่า RHR ยังช่วยตรวจสอบว่าการออกแรงของเรานั้นเกินขอบเขตที่ร่างกายจะพักฟื้นได้ทันหรือไม่
ค่า RHR นั้นสามารถได้รับอิทธิพลจากองค์ประกอบอื่นๆ ได้ด้วยเช่น ยาเสพติด ยารักษาโรค แอลกอฮอล์ และคาเฟอีนหรือเรียกอีกอย่างคือ ค่า RHR แปลผันได้ตามพฤติกรรมและสิ่งที่เรารับเข้าสู่ร่างกายในแต่ละวันนั่นเอง

ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ

-อายุ เมื่ออายุมากขึ้นอัตราและความสม่ำเสมอของชีพจรสามารถเปลี่ยนแปลงได้

-เพศ โดยทั่วไปอัตราการเต้นของหัวใจในเพศหญิงจะสูงกว่าเพศชาย

-การออกกำลังกาย ถ้าเคลื่อนไหวร่างกายมากอัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มขึ้นหรือลดเมื่อหยุดพัก

-อากาศและอุณหภูมิร่างกาย

-อารมณ์ เมื่อรู้สึกเครียดหรือตื่นเต้นมากเกินไป หัวใจของจะทำงานหนักขึ้นและเต้นเร็วขึ้น

-ยาบางชนิดสามารถลดอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักได้ (เช่นยาเบต้าบล็อกเกอร์ ) ในขณะที่ยาอื่นๆ สามารถเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจได้ (เช่น ยารักษาไทรอยด์)

-การใช้สารเสพติด แอลกอฮอล์ คาเฟอีน และการสูบบุหรี่ล้วนส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ

-ช่วงเวลาของวัน อัตราการเต้นของหัวใจมีแนวโน้มที่จะลดลงในเวลากลางคืน

-ตำแหน่งของร่างกาย เช่นการนั่งหรือนอนราบมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ต่างกัน

ความแตกต่างของค่า RHR
ค่า RHR โดยเฉลี่ยแล้วจะแตกต่างไปตามอายุ เพศ การออกกำลังกาย ฉะนั้นอัตราการเต้นของหัวใจ ขณะพักของ ผู้ชาย ผู้หญิง นักกีฬาชายและนักกีฬาหญิง จะแตกต่างกันตามนี้

Resting Heart Rate


ค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นหัวใจของผู้ชาย
อายุ 18 – 25 ปี ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 70 – 73 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 49 – 55 ครั้ง/นาที
อายุ 26 – 35 ปี ค่าเฉลี่ยนจะอยู่ที่ 71 – 74 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 49 – 54 ครั้ง/นาที
อายุ 36 – 55 ปี ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 71 – 76 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 50 – 57 ครั้ง/นาที
อายุ 56 – 65 ปี ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 72 – 76 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 51 – 56 ครั้ง/นาที
อายุ 65 ปีขึ้นไป ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 70 – 73 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 50 – 55 ครั้ง/นาที

ค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นหัวใจของผู้หญิง
อายุ 18 – 25 ปี ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 74 – 78 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 54 – 60 ครั้ง/นาที
อายุ 26 – 35 ปี ค่าเฉลี่ยนจะอยู่ที่ 73 – 76 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 54 – 59 ครั้ง/นาที
อายุ 36 – 55 ปี ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 74 – 78 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 54 – 60 ครั้ง/นาที
อายุ 56 – 65 ปี ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 74 – 77 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 54 – 59 ครั้ง/นาที
อายุ 65 ปีขึ้นไป ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 73 – 76 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 54 – 59 ครั้ง/นาที
ผู้หญิงตั้งครรภ์ ค่าเฉลี่ยนจะอยู่ที่ 80 – 90 ครั้ง/นาที

หลายท่านคงเกิดคำถามว่าทำไมอัตราการเต้นของผู้หญิงถึงสูงกว่าผู้ชาย สาเหตุเป็นเพราะ ขนาดหัวใจของผุ้หญิงนั้นจะมีขนาดเล็กกว่า จึงทำให้ปริมาณของเลือดที่ไหลเวียนในร่างกายน้อยกว่า และยังมีระดับของฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ในเลือดน้อยกว่าผู้ชาย

ค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติในขณะพัก
ผู้ชาย อายุ 18 – 55 ปี ค่าเฉลี่ยนจะมากกว่า 82 – 84 ครั้ง/นาที / อายุ 65 ปีขึ้นไป ค่าเฉลี่ยจะมากกว่า 80 ครั้ง/นาที
ผู้หญิง ทุกช่วงวัย ค่าเฉลี่ยจะมากกว่า 83 – 85 ครั้ง/นาที

**หากค่า RHR อยู่ในระดับตัวเลขดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจความแข็งแรงของหัวใจ

ค่าที่เหมาะสมสำหรับออกกำลังกาย
การออกกำลังกายที่มีความหนักหน่วงสูง สามารถทำให้เกิดความเครียดมาสู่ร่างกายและจิตใจได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงต้องคำนวณอัตราการเต้นของหัวใจในการออกกำลังกาย เพื่อสามารถออกกำลังกายอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ทั้งนี้หลายท่านสามารถใช้ Smart Watch ซึ่งสามารถตรวจจับอัตราการเต้นของหัวใจที่มีความแม่นยำได้
อัตราการเต้นของหัวใจสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้ดังนี้

  1. อัตราการเต้นหัวใจที่สามารถเต้นได้ (Maximum Heart Rate)
  2. เป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย (Target Heart Rate Zone)
    โดยอัตราการเต้นหัวใจขณะออกกำลังกายของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ดังนั้นเราจึงนำวิธีการคำนวณการหาค่าที่เหมาะสมสำหรับเรามาฝากทุกท่าน ตามนี้ครับ
  3. อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด: …..(อัตราการเต้น)….. – …(อายุ)……
  4. เป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย: ….ช่วงระหว่างอัตราการเต้นสูงสุด…. X 0.5 – ….อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด…. X 0.75
    ดังนั้นการออกกำลังกายที่ดีเราจึงควรออกกำลังกายให้พอเหมาะกับร่างกายของเรา ไม่หนักหรือมากจนเกินไป อัตราการเต้นของหัวใจจะปกติหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับ การพักผ่อนและการออกกำลังกายของเรา ด้วยเหตุนี้เอง Johnson Health Tech จึงได้ออกแบบลู่วิ่งไฟฟ้าที่ช่วยวัดอัตราการเต้นของหัวใจทั้งก่อนวิ่ง ระหว่างวิ่ง และหลังวิ่ง พร้อมยังช่วยให้ผู้ที่มีค่า RHRสูงนั้น ได้ฝึกซ้อมเพื่อลดค่า RHR ให้อยู่ในระดับปกติ เพราะเราใส่ใจในทุกสัญญาณเตือนจากสุขภาพของทุกคน
    อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับลู่วิ่ง Omega Z : https://johnson.co.th/shop/home-products/treadmill/horizon-omega-z/

สนใจสินค้าเครื่องออกกำลังกาย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร 02-751-9360 ,090-090-6797

LINE@ : https://lin.ee/aNh3uZF

http://m.me/Johnsonfitness.TH/

Johnson Website : https://johnson.co.th

← Older Post Newer Post →

Blog

RSS
RHR คืออะไร
Category_บทความ ลู่วิ่งไฟฟ้า

RHR คืออะไร

By KTn develop

RHR คืออะไร หลายท่านที่ออกกำลังกายอาจคิดว่าสิ่งนี้ไม่สำคัญเท่าไหร่กับการออกกำลังกายประจำวัน แต่หลายท่านคงคาดไม่ถึงว่า RHR นั้นมีผลอย่างมากกับการออกกำลังกายของเรา

Read more
4วิธีปั่นจักรยานลดน้ำหนัก
Category_บทความ จักยานนั่งปั่น จักรยานออกกำลังกาย จักรยานเอนปั่น

4 วิธีปั่นจักรยานลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วนได้จริง

By KTn develop

4 วิธีปั่นจักรยานลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วนได้จริง ถ้าพูดถึงการปั่นจักรยาน ก็ถือเป็นการออกกำลังกายอีกอย่างนึงที่ได้รับความนิยม การปั่นจักรยานที่ดีจะสามารถช่วยเผาผลาญไขมันและคุมน้ำหนักได้ แต่จะมีวิธีปั่นจักรยานอย่างไรให้ได้ผลไวและเร็วที่สุด ตามมาดูกันเลยค่ะ กินก่อนปั่นหรือหลังปั่นดี การออกกำลังกายทุกอย่างต้องใช้พลังงาน แต่ก็ไม่จำเป็นต้องกินอาหารตุนไว้ให้แน่นท้อง ก่อนจะปั่นจักรยานออกกำลังกายก็ควรรองท้องเพื่อให้มีพลังงานและช่วยให้ไม่หิวจัดหลังจากปั่นจักรยานลดน้ำหนักเสร็จ และไม่ควรกินอาหารหลังจากออกกำลังกายทันทีเพราะจะทำให้จุกแต่ควรดื่มน้ำให้มากขึ้นเพื่อทดแทนเหงื่อที่เสียไป ปั่นจักรยานด้วยความเร็วสม่ำเสมอ หลายคนที่หวังจะปั่นจักรยานด้วยการปั่นแบบแรง ๆ เร็ว ๆ โดยคิดว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่จะช่วยเผาผลาญเซลลูไลท์บริเวณต้นขาได้ดีกว่า ถือว่าเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะการปั่นจักรยานด้วยรอบปั่นเร็วจะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อขาและเอวได้ ดังนั้นควรเลือกปั่นจักรยานด้วยวิธีที่เหมาะสม คือ ปั่นด้วยความเร็วแบบสม่ำเสมอ และเลือกใช้เกียร์เบา...

Read more