What is Resting Heart Rate (RHR)? A Guide to Better Health

RHR คืออะไร? ตัวช่วยวัดสุขภาพสำหรับคนรักการวิ่ง

โพสต์โดย KTn develop เมื่อ

RHR คืออะไร หลายท่านที่ออกกำลังกายอาจคิดว่าสิ่งนี้ไม่สำคัญเท่าไหร่

กับการออกกำลังกายประจำวัน แต่หลายท่านคงคาดไม่ถึงว่า RHR นั้นมีผลอย่างมากกับการออกกำลังกายของเรา โดย RHR คืออะไรและส่งผลอย่างไรกับเราบ้าง ในวันนี้เราจะมาอธิบายถึงหน้าที่และความหมายของ RHR กันครับ

สำหรับผู้ออกกำลังกาย คงจะคุ้นเคยกับคำว่า Heart Rate หรืออัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกสภาวะของร่างกายขณะเคลื่อนไหว ซึ่งเครื่องออกกำลังกายในยุคปัจจุบันนี้ ได้นำ Heart Rate มาสร้างเป็นโปรแกรมเพื่อตั้งเป้าการออกกำลังกายของผู้ใช้กันอย่างแพร่หลาย ในวันนี้เราจะมาพูดถึงค่า Heart Rate อีกแบบหนึ่ง นั่นคือ Resting Heart Rate หรือย่อว่า RHR ซึ่งมีความสำคัญต่อการบอกสุขภาพของเราเช่นกัน
“Resting Heart Rate” หมายถึง อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ภายใน 1 นาที โดยไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ ซึ่งนั่นรวมถึงการตื่นนอนของเราด้วยเช่นกัน ค่า RHR นั้นเป็นตัวเลข ที่บ่งบอกถึงระดับสมรรถภาพทางร่างกายของเราว่าเป็นอย่างไรและสุขภาพดีมากแค่ไหน
รวมถึงการบอกปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับสุขภาพทั้งร่างกายของเรา ไม่ว่าจะเป็นร่างกาย หรือสุขภาพทางจิตใจและสภาวะทางอารมณ์ เช่น ความเครียด ความกังวล ความสุข อาการซึมเศร้า อาการอ่อนเพลียอย่างรุนแรง นอกจากนี้ค่า RHR ยังช่วยตรวจสอบว่าการออกแรงของเรานั้นเกินขอบเขตที่ร่างกายจะพักฟื้นได้ทันหรือไม่
ค่า RHR นั้นสามารถได้รับอิทธิพลจากองค์ประกอบอื่นๆ ได้ด้วยเช่น ยาเสพติด ยารักษาโรค แอลกอฮอล์ และคาเฟอีนหรือเรียกอีกอย่างคือ ค่า RHR แปลผันได้ตามพฤติกรรมและสิ่งที่เรารับเข้าสู่ร่างกายในแต่ละวันนั่นเอง

ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ

-อายุ เมื่ออายุมากขึ้นอัตราและความสม่ำเสมอของชีพจรสามารถเปลี่ยนแปลงได้

-เพศ โดยทั่วไปอัตราการเต้นของหัวใจในเพศหญิงจะสูงกว่าเพศชาย

-การออกกำลังกาย ถ้าเคลื่อนไหวร่างกายมากอัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มขึ้นหรือลดเมื่อหยุดพัก

-อากาศและอุณหภูมิร่างกาย

-อารมณ์ เมื่อรู้สึกเครียดหรือตื่นเต้นมากเกินไป หัวใจของจะทำงานหนักขึ้นและเต้นเร็วขึ้น

-ยาบางชนิดสามารถลดอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักได้ (เช่นยาเบต้าบล็อกเกอร์ ) ในขณะที่ยาอื่นๆ สามารถเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจได้ (เช่น ยารักษาไทรอยด์)

-การใช้สารเสพติด แอลกอฮอล์ คาเฟอีน และการสูบบุหรี่ล้วนส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ

-ช่วงเวลาของวัน อัตราการเต้นของหัวใจมีแนวโน้มที่จะลดลงในเวลากลางคืน

-ตำแหน่งของร่างกาย เช่นการนั่งหรือนอนราบมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ต่างกัน

  • ลู่วิ่งไฟฟ้า Johnson รุ่นไหนดี ?
  • ลู่วิ่งไฟฟ้าในบ้านเกรดเทียบฟิตเนส ฟังก์ชันเยอะแข็งแรงทนทาน
  • แนะนำลู่วิ่งไฟฟ้า Tempo ขายดี คุณภาพคุ้มค่าเกินราคา

ความแตกต่างของค่า RHR
ค่า RHR โดยเฉลี่ยแล้วจะแตกต่างไปตามอายุ เพศ การออกกำลังกาย ฉะนั้นอัตราการเต้นของหัวใจ ขณะพักของ ผู้ชาย ผู้หญิง นักกีฬาชายและนักกีฬาหญิง จะแตกต่างกันตามนี้

Resting Heart Rate


ค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นหัวใจของผู้ชาย
อายุ 18 – 25 ปี ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 70 – 73 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 49 – 55 ครั้ง/นาที
อายุ 26 – 35 ปี ค่าเฉลี่ยนจะอยู่ที่ 71 – 74 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 49 – 54 ครั้ง/นาที
อายุ 36 – 55 ปี ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 71 – 76 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 50 – 57 ครั้ง/นาที
อายุ 56 – 65 ปี ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 72 – 76 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 51 – 56 ครั้ง/นาที
อายุ 65 ปีขึ้นไป ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 70 – 73 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 50 – 55 ครั้ง/นาที

ค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นหัวใจของผู้หญิง
อายุ 18 – 25 ปี ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 74 – 78 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 54 – 60 ครั้ง/นาที
อายุ 26 – 35 ปี ค่าเฉลี่ยนจะอยู่ที่ 73 – 76 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 54 – 59 ครั้ง/นาที
อายุ 36 – 55 ปี ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 74 – 78 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 54 – 60 ครั้ง/นาที
อายุ 56 – 65 ปี ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 74 – 77 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 54 – 59 ครั้ง/นาที
อายุ 65 ปีขึ้นไป ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 73 – 76 ครั้ง/นาที นักกีฬาอยู่ที่ 54 – 59 ครั้ง/นาที
ผู้หญิงตั้งครรภ์ ค่าเฉลี่ยนจะอยู่ที่ 80 – 90 ครั้ง/นาที

หลายท่านคงเกิดคำถามว่าทำไมอัตราการเต้นของผู้หญิงถึงสูงกว่าผู้ชาย สาเหตุเป็นเพราะ ขนาดหัวใจของผุ้หญิงนั้นจะมีขนาดเล็กกว่า จึงทำให้ปริมาณของเลือดที่ไหลเวียนในร่างกายน้อยกว่า และยังมีระดับของฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ในเลือดน้อยกว่าผู้ชาย

ค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติในขณะพัก
ผู้ชาย อายุ 18 – 55 ปี ค่าเฉลี่ยนจะมากกว่า 82 – 84 ครั้ง/นาที / อายุ 65 ปีขึ้นไป ค่าเฉลี่ยจะมากกว่า 80 ครั้ง/นาที
ผู้หญิง ทุกช่วงวัย ค่าเฉลี่ยจะมากกว่า 83 – 85 ครั้ง/นาที

**หากค่า RHR อยู่ในระดับตัวเลขดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจความแข็งแรงของหัวใจ

ค่าที่เหมาะสมสำหรับออกกำลังกาย
การออกกำลังกายที่มีความหนักหน่วงสูง สามารถทำให้เกิดความเครียดมาสู่ร่างกายและจิตใจได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงต้องคำนวณอัตราการเต้นของหัวใจในการออกกำลังกาย เพื่อสามารถออกกำลังกายอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ทั้งนี้หลายท่านสามารถใช้ Smart Watch ซึ่งสามารถตรวจจับอัตราการเต้นของหัวใจที่มีความแม่นยำได้
อัตราการเต้นของหัวใจสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้ดังนี้

  1. อัตราการเต้นหัวใจที่สามารถเต้นได้ (Maximum Heart Rate)
  2. เป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย (Target Heart Rate Zone)
    โดยอัตราการเต้นหัวใจขณะออกกำลังกายของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ดังนั้นเราจึงนำวิธีการคำนวณการหาค่าที่เหมาะสมสำหรับเรามาฝากทุกท่าน ตามนี้ครับ
  3. อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด: …..(อัตราการเต้น)….. – …(อายุ)……
  4. เป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย: ….ช่วงระหว่างอัตราการเต้นสูงสุด…. X 0.5 – ….อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด…. X 0.75
    ดังนั้นการออกกำลังกายที่ดีเราจึงควรออกกำลังกายให้พอเหมาะกับร่างกายของเรา ไม่หนักหรือมากจนเกินไป อัตราการเต้นของหัวใจจะปกติหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับ การพักผ่อนและการออกกำลังกายของเรา ด้วยเหตุนี้เอง Johnson Health Tech จึงได้ออกแบบลู่วิ่งไฟฟ้าที่ช่วยวัดอัตราการเต้นของหัวใจทั้งก่อนวิ่ง ระหว่างวิ่ง และหลังวิ่ง พร้อมยังช่วยให้ผู้ที่มีค่า RHRสูงนั้น ได้ฝึกซ้อมเพื่อลดค่า RHR ให้อยู่ในระดับปกติ เพราะเราใส่ใจในทุกสัญญาณเตือนจากสุขภาพของทุกคน
    อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับลู่วิ่ง Omega Z : https://johnson.co.th/products/horizon-treadmill-omega-z

สนใจสินค้าเครื่องออกกำลังกาย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร 02-751-9360 ,090-090-6797

LINE@ : https://lin.ee/aNh3uZF

http://m.me/Johnsonfitness.TH/

Johnson Website : https://johnson.co.th

← โพสต์เก่า โพสต์ใหม่กว่า →

บทความ

RSS
รีวิวลู่วิ่งไฟฟ้า Horizon โดยคุณ Fasai จาก Fit Junctions

รีวิวลู่วิ่งไฟฟ้า Horizon โดยคุณ Fasai จาก Fit Junctions

Johnson FitnessTH
โดย Johnson FitnessTH

รีวิวลู่วิ่งไฟฟ้า Horizon โดยคุณฟ้าใสจาก Fit Junctions แชร์ประสบการณ์ตรง ฟิตง่ายๆ ได้ที่บ้าน พร้อมเทคนิคการใช้งานให้คุ้มค่า

อ่านเพิ่มเติม
“ชีวิตเร่งรีบ ก็ฟิตได้!” รีวิวลู่วิ่งไฟฟ้า Johnson เพื่อนคู่ใจสาวออฟฟิศที่ไม่มีเวลาออกกำลังกาย

“ชีวิตเร่งรีบ ก็ฟิตได้!” รีวิวลู่วิ่งไฟฟ้า Johnson เพื่อนคู่ใจสาวออฟฟิศที่ไม่มีเวลาออกกำลังกาย

Johnson FitnessTH
โดย Johnson FitnessTH

รีวิวลู่วิ่งไฟฟ้า Johnson เพื่อนซี้ของสาวออฟฟิศที่ไม่มีเวลาออกกำลังกาย อยู่บ้านก็ฟิตหุ่นดี สุขภาพแข็งแรงได้ทุกวันแบบไม่ต้องง้อฟิตเนส

อ่านเพิ่มเติม