What is RPE? Understanding the Rate of Perceived Exertion

What is RPE? Understanding the Rate of Perceived Exertion

Posted by MAM AGENCY on

RPE คือ การประเมินระดับการรับรู้การออกแรงของร่างกาย ซึ่งย่อมาจาก Rating of Perceived Exertion เป็นหนึ่งในวิธีวัดระดับการออกแรงในการออกกำลังกาย ที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไร แต่อาศัยความรู้สึกในการรับรู้การออกแรงของร่างกาย แล้วประเมินค่าออกมาเป็นตัวเลขตั้งแต่ 6-20 เอามาเทียบกับตาราง Borg Rating of Perceived Exertion scale หรือ Borg scale ซึ่งเป็นตารางค่ามาตรฐานที่นิยมใช้กัน โดยที่ระดับ 6 หมายถึง “ไม่มีการออกแรงเลย” ส่วน ระดับ 20 หมายถึง “รับรู้การออกแรงได้ในระดับสูงสุด”

วิธีวัดค่า RPE

หลังจากวอร์มอัพด้วยการออกแรงระดับเบา ๆ แล้ว ก็ให้เริ่มออกกำลังกายต่อตามปกติ หลังจากนั้นไม่กี่นาทีให้ประเมินระดับคะแนนการรับรู้การออกแรง (RPE) ของร่างกายตัวเอง อ้างอิงกับความรู้สึกในตารางโดยประเมินจากความรู้สึกทางกายภาพ ได้แก่ อัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้น อัตราการหายใจที่เพิ่มขึ้น การขับเหงื่อเพิ่มขึ้น และความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ

ระดับความเข้มข้นจาก RPE scale

การประเมินระดับความเข้มข้นในการออกกำลังกายจาก RPE scale แบ่งได้ 3 ระดับ ดังนี้

  • ค่าระดับ RPE 6-11 หมายถึง การออกกำลังกายในระดับ ความเข้มข้น “ต่ำ”
  • ค่าระดับ RPE 12-16 หมายถึง การออกกำลังกายในระดับความเข้มข้น “ปานกลาง”
  • ค่าระดับ RPE 17-20 หมายถึง การออกกำลังกายในระดับความเข้มข้น “สูง”
What is RPE? Understanding the Rate of Perceived Exertion

 หากคะแนนต่ำกว่า 12 RPE ให้เพิ่มระดับความเข้มข้น ด้วยการเพิ่มความเร็ว เพิ่มความต้านทาน หรือเพิ่มระยะเวลาในการออกกำลังกายให้นานขึ้น แต่ถ้ารู้สึกว่าการออกแรงอยู่ในระดับ 19 RPE ก็ควรชะลอความเร็ว หรือลดแรงต้านทานลง จนกว่าร่างกายจะรู้สึกว่ากลับมาอยู่ในระดับความเข้มข้นปานกลาง ซึ่งเป็นระดับที่กำลังพอดีโดยที่ร่างกายไม่ได้รู้สึกเหนื่อยหรือเมื่อยล้าจนเกินไป หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไม RPE scale จึงเริ่มต้นที่ 6 นั่นเป็นเพราะเมื่อเราประเมินการระดับการออกกำลังกายของเราแล้ว ให้นำไปคูณ 10 แล้วจะเท่ากับกับอัตราการเต้นหัวใจแบบปกติ เช่นหากประเมินการออกกำลังกายของตนเองอยู่ที่ 6*10 = 60 ซึ่งเป็นการออกกำลังกายในระดับความเข้มข้นต่ำ แต่แน่นอนว่าการประเมินด้วยตนเองแบบนี้ไม่เป็นประโยชน์มากนัก ปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่สามารถบอกอัตราการเต้นของหัวใจได้ เช่น สมาร์ทวอทที่คุณไม่ต้องนั่งคำนวณเองว่าการออกกำลังกายของคุณอยู่ในระดับใด ทำให้สะดวกและเป็นประโยชน์มากขึ้น

การออกกำลังกายแบบ HIIT กับค่า RPE

คนส่วนมากมักตั้งเป้าหมายในการออกกำลังกายเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งกับสุขภาพและจิตใจ แน่นอนว่าการที่จะบรรลุเป้าหมายได้นั้นต้องตั้งใจออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหรือจำเป็นต้องออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นสูงขึ้น อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เห็นผลได้ดี คือ การออกกำลังกายแบบ HIIT ที่เป็นการออกกำลังกายแบบหนักสลับเบา วิธีนี้จะช่วยให้อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น 85-90% อีกทั้งยังช่วยรีดไขมันและช่วยให้ระบบเผาผลาญทำงานได้อย่างต่อเนื่องแม้จะออกกำลังกายเสร็จสิ้นไปนานแล้ว การออกกำลังกายแบบนี้จะมีความคล้ายคลึงกับการประเมินระดับการออกแรงอย่าง RPE เพราะคุณต้องเป็นคนกำหนดโปรแกรมเองว่าจะออกกำลังกายอะไรและต่อด้วยอะไร ดังนั้นการมีโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อการออกกำลังกาย แบบ HIIT อย่าง Sprint 8 บนลู่วิ่งไฟฟ้า Johnson จึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้คุณบรรลุเป้าหมายของการมีรูปร่างในฝันดั่งที่ตั้งใจเอาไว้ได้

← Older Post Newer Post →

Blog

RSS
ปั่นทุกวัน หัวใจแข็งแรง! 7 เหตุผลที่คุณควรมีจักรยานออกกำลังกายที่บ้าน

ปั่นทุกวัน หัวใจแข็งแรง! 7 เหตุผลที่คุณควรมีจักรยานออกกำลังกายที่บ้าน

Johnson FitnessTH
By Johnson FitnessTH

ปั่นจักรยานทุกวัน สุขภาพหัวใจดีขึ้นจริง! รวม 7 เหตุผลที่ควรมีจักรยานออกกำลังกายติดบ้าน ปั่นง่าย ฟิตได้ ไม่ต้องออกไปฟิตเนส

Read more
เครื่องนวดเท้า ตัวช่วยคลายเมื่อยสำหรับสายออกกำลังกายและคนทำงานหนัก

เครื่องนวดเท้า ตัวช่วยคลายเมื่อยสำหรับสายออกกำลังกายและคนทำงานหนัก

Johnson FitnessTH
By Johnson FitnessTH

เครื่องนวดเท้า ตัวช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อ คลายเมื่อยได้ตรงจุด เหมาะทั้งสายฟิตเนสและคนทำงานหนัก ใช้ง่าย ผ่อนคลายได้ทุกวันที่บ้าน

Read more