small-logosmall-logosmall-logosmall-logo
  • หน้าหลัก
  • สินค้า
    • สินค้าสปอร์ต + ฟิตเนส
      • ลู่วิ่งไฟฟ้า
      • เครื่องเดินวงรี
      • จักรยานออกกำลังกาย
      • อุปกรณ์เสริมสร้างกล้ามเนื้อ
      • เครื่องออกกําลังกาย matrix
    • สินค้า Live Content
      • Johnson@Mirror
      • Johnson@Cycle
    • สินค้าเพื่อสุขภาพ
      • เก้าอี้นวดไฟฟ้า
    • สินค้าโครงการ
      • Matrix Fitness
        • Cardio
        • Strength
        • Group Training
      • Vision Fitness
  • ติดตั้งห้องฟิตเนส
    • ผลงานห้องฟิตเนส
      • ผลงานทั่วโลก
      • ผลงานในไทย
    • ติดตั้งห้องฟิตเนส
  • ข่าวสาร
    • โปรโมชั่น & อีเว้นท์
    • บทความ
  • ค้นหาร้านค้า
  • เกี่ยวกับเรา
    • เกี่ยวกับจอห์นสัน
    • แบรนด์ของเรา
    • รางวัล
    • เทคโนโลยีเฉพาะ
    • ร่วมงานกับเรา
  • แจ้งชำระเงิน
  • Register
    • Log Out
    • Profile
0

0.00฿

  • อังกฤษ
  • ไทย
✕

วิ่งอย่างไรให้ปลอดภัย

การวิ่งเป็นการออกกำลังกายที่ดีและทำได้ง่าย และในปัจจุบันการออกกำลังกาย

แบบวิ่งก็เป็นที่นิยมกันมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุผลที่เป็นการออกกำลังกายที่สามารถทำได้ทันที แต่ในบางครั้ง การเตรียมความพร้อมร่างกายของออกกำลังกายที่ไม่ดีพอ ไม่ว่าจะเล่นกีฬาชนิดไหน ก็อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ วันนี้ เราจะมาพูดถึงการเตรียมตัวการออกกำลังกาย ซึ่งในที่นี้เราจะยกตัวอย่างของการวิ่ง เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจและเตรียมตัวกันได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

1.ตรวจเช็คความพร้อมของร่างกาย
การตรวจเช็คร่างกายจะทำให้เราสามารถป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดในขณะวิ่งหรือสิ่งที่จะส่งผลต่อร่างกายในระยะยาว จึงเป็นสิ่งแรกที่ทุกท่านควรกระทำ โดยการตรวจเช็คเราสามารถตรวจเองได้เบื้องต้นบริเวณ ข้อเท้า ฝ่าเท้า ข้อเข่า หลังและกล้ามเนื้อส่วนขา จากการยืดกล้ามเนื้อหรือวอร์ม หากรู้สึกมีอาการเจ็บในขณะวอร์มหรือยืดเส้นให้ท่านพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการของบริเวณนั้น และที่สำคัญไม่ควรออกกกำลังกายในขณะที่พักผ่อนไม่เพียงพอ เพราะจะทำให้เกิดอันตรายได้ง่าย

2.การวอร์มและการยืดเส้นก่อนออกกำลังกาย
การวอร์มและการยืดกล้ามเนื้อ นั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากก่อนออกกำลังกายทุกประเภท โดยการออกกำลังกายแบบวิ่งนั้นเราสามารถยืดกล้ามเนื้อรอบเข่าและข้อเท้าให้เพียงพอ ควรยืดช้าๆ ค้างไว้ 10 – 15 วินาที/ครั้ง ทำประมาณ 5 – 10 ครั้ง/มัด เน้นการยืดกล้ามเนื้อกางสะโพก กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าและด้านหลังเป็นหลัก การวอร์มร่างกายเป็นการอุ่นเครื่องให้ร่างกายอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานมากที่สุด โดยเราสามารถวอร์มจากการขยับร่างกายช่วงขาอย่างช้าๆ เช่น วิ่งเหยาะๆอยู่กับที่เท้ายกสูงจากพื้นเล็กน้อย พร้อมหายใจเข้าออกช้าๆ เพื่อกระตุ้นการทำงานของปอดไปพร้อมกับการวอร์มร่างกาย ซึ่งการวอร์มร่างกายจะส่งผลกับการปรับตัวของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการออกำลังกาย ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบการหายใจ

3.รองเท้าวิ่งและเครื่องแต่งการที่เหมาะสม
รองเท้าวิ่งควรเป็นมีพื้นกันแรงกระแทกที่เพียงพอและมีความกระชับพอดีเท้าไม่คับหรือหลวมจนเกินไป เวลาเลือกซื้อที่ร้านควรปรึกษากับทางพนักงานว่าเราต้องการวิ่งแบบไหน โดยหากเป็นการวิ่งออกกำลังกายเพื่อสุขภาพทั่วไป ไม่ใช่การวิ่งสปรินท์ ควรเลือกรองเท้าแบบ Cross training เครื่องแต่งกาย ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่หลวม ไม่ฟิตและไม่หนักจนเกินไปและรู้สึกคล่องตัวขณะวิ่ง

4.ตรวจดูความผิดปกติของเท้า
ส่วนใหญ่ลักษณะเท้าที่พบคือ ภาวะเท้าแบน หากมีเท้าแบนหรือไม่มีอุ้งเท้าสูงเพียงพอ เวลาวิ่งนานๆ อาจทำให้มีแรงปฎิกิริยาจากพื้นกระทบต่อข้อเท้าและข้อเข่าอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดอาการปวดเข่าหรือข้อเท้า เรื้อรังได้ และควรพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา หรือซื้อแผ่นยางเสริมอุ้งเท้าสำเร็จรูปมาติดภายในรองเท้า

5.บริเวณวิ่งที่เหมาะสม
การเลือกบริเวณวิ่งออกกำลังกายที่เหมาะสมนั้น ควรเป็นพื้นที่ที่มีพื้นผิวเสมอกัน ไม่ควรวิ่งพื้นที่ ที่มีพื้นเอียงหรือบริเวณที่มีการหักเลี้ยวอย่างฉับพลัน เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้าที่จะเกิดขึ้น และไม่ควรวิ่งบริเวณที่เปลี่ยวหรือเวลากลางคืนเ หรือใกล้บริเวณรกร้าง เขตก่อสร้าง เพราะมีโอกาสสูงที่จะเกิดอุบัติเหตุและอันตรายที่ไม่คาดฝันขึ้นได้
สำหรับผู้มีปัญหาข้อเข่าบ่อยๆไม่ควรวิ่งขึ้นลงเนิน หากจำเป็นต้องวิ่งลงเนินควรเอนลำตัวไปด้านหน้า ก้าวเท้าให้สั้นลง และมองตรงไปข้างหน้า ไม่ควรแหงนหน้าขึ้น พยายามทำให้ลำตัวตรง เพราะแรงโน้มถ่วงอาจทำให้คุณเสียหลักได้ และควรก้าวเท้าให้ยาวขึ้นและเร็วขึ้นกว่าปกติ

6.วิธีการวิ่งที่ถูกต้อง
การวิ่งออกกำลังกายนั้นแตกต่างจากการวิ่งปกติอย่างไร คำถามนี้คงเกิดขึ้นในใจของหลายๆท่าน การวิ่งเพื่อการออกกำลังกายนั้น ไม่ควรวิ่งก้าวเท้ายาวเกินไป หรือยกเข่าสูงเกินไป เพราะทำให้ข้อเข่า ต้องงอมากเกินความจำเป็น อาจทำให้เกิดปัญหาปวดเข่า ได้ง่ายขึ้น ส่วนแขนก็ควรงอเพียงเล็กน้อยและแกว่งข้างลำตัว และไม่ควรแกว่งมือเลยแนวกลางลำตัว ในกรณีที่มี ปัญหาปวดหลังหรือน้ำหนักตัวมากๆ ควรแกว่งแขนค่อนมาทางด้านหลังเพื่อไม่ให้ลำตัวก้มไปข้างหน้ามากเกินไปและควรวิ่งโดยลงน้ำหนักที่ส้นเท้า การวิ่งโดยลงน้ำหนักที่ปลายเท้าเป็นเวลานานๆ จะทำให้เกิดแรงกระชากพังผืดฝ่าเท้า ปวดกล้ามเนื้อน่อง และยังเกิดแรงที่ผิดปกติที่ส่งผลต่อข้อเข่า ทำให้ต้องงอเข่ามากขึ้นขณะวิ่ง อาจทำให้เกิดอาการปวดเข่าด้านหน้าได้

7.ระยะทางที่เหมาะสมในการวิ่ง
ศักยภาพของร่างกายแต่ละคนนั้นไม่เท่ากันจึงส่งผลให้ระยะทางที่เหมาะสมของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากันตามไปด้วย โดยควรที่จะเลือกระยะทางที่ไม่เป็นการฝืนร่างกายจนเกินไป และควรที่จะมีการฝึกซ้อมและเริ่มจากการวิ่งในระยะสั้นก่อน และหากรู้สึกไม่เป็นการฝืนร่างกาย เราสามารถค่อยๆเพิ่มระยะทางในการวิ่งของเราได้

8.การฝึกซ้อมและการเพิ่มระยะในการวิ่ง
สำหรับหลายๆท่านที่ต้องการออกกำลังกายโดยหลีกเลี่ยงปัญหาทีเกิดจากอุบัติเหตุของร่างกาย ควรเริ่มต้นจากการคิดและฝึกซ้อมวิ่งในระยะสั้นๆและฝึกท่าในการวิ่งที่ถูกต้องให้คุ้นชินก่อนและจึงค่อยๆเพิ่มระยะทางหลังจากเราผ่านการฝึกเบื้องต้นที่ได้กำหนด แล้วจึงเริ่มเพิ่มระยะทางในการวิ่งขึ้นเล็กน้อยเพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัวกับการใช้งานและควรหมั่นออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขา โดยการเหยียดเข่าตรงและเกร็งค้างไว้ 5 – 10 วินาที/ครั้ง ทำประมาณ 10 – 20 ครั้ง/วัน หรือเข้ายิมเล่นเวทเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อต้นขา ด้านหน้าและด้านหลัง สัปดาห์ละ 2- 3 ครั้ง โดยเฉพาะคุณสุภาพสตรีที่มีสะโพกกว้าง ซึ่งจะมีแนวโน้มเกิดปัญหา Patellofemoral pain ได้ การออกำลังกายดั่งกล่าวจะช่วยพัฒนากล้ามเนื้อที่ช่วยรั้งกระดูกสะบ้าเข้าด้านในจะช่วยลดปัญหา Patellofemoral pain ในระยะยาวได้

9.ใกล้เส้นชัยที่ตั้งของการวิ่ง
หลายๆท่านที่ใกล้ถึงเส้นชัยที่กำหนดไว้ จะรีบวิ่งออกแรงให้มากขึ้นเพื่อให้ถึงเส้นชัยได้ไวขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง โดยเมื่อใกล้จะหยุดวิ่ง เราควนค่อยๆลดความเร็วลง อย่ารีบวิ่งเต็มฝ่าเท้า และควรเดินต่ออีกสักพักเพื่อให้ร่างกายได้ชะเอากรดแลคติกออกจากกล้ามเนื้อ ทำให้ช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อหลังวิ่งนวัรุ่งขึ้นได้

10.ข้อควรระวังในการวิ่ง
หากท่านมีภาวะข้อเสื่อมอย่างชัดเจน ควรออกกำลังกายด้วยวิธีอื่น เช่น การปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรือเดินเร็ว แทนการวิ่ง
ทรา
บอย่างนี้แล้ว หลายๆ ท่านคงได้ไอเดียในการระวังตัวและเตรียมตัวก่อนออกไปวิ่ง แม้เราจะมองว่าเป็นการออกกำลังกายที่ทำได้ง่ายๆ แต่เห็นมั้ยล่ะครับว่า หากเราไม่เตรียมตัวให้ดีและคำนึงถึงความปลอดภัย การออกกำลังกายก็อาจส่งผลเสียให้กับเราได้เช่นกัน และแน่นอน Johnson Health Tech ก็มีตัวเลือกดีๆ มาฝากอีกตามเคย สำหรับเครื่องออกกำลังกายภายใต้การออกแบบของ Johnson ที่ไม่เพียงแค่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองทุก Life Style ของลูกค้าเท่านั้น เรายังคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ โดยออกแบบเครื่องออกกำลังกายตามหลักสรีรศาสตร์ หรือมีจุดเด่นในการรองรับแรงกระแทก และอีกๆหลายๆ ฟีเจอร์ ที่ผู้ใช้ทุกท่านไม่ต้องกังวลว่าจะได้รับการบาดเจ็บจากการใช้งาน
คลิกเพื่อเลือกสินค้า https://johnson.co.th/product-category/home-products/
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : @johnsonfitness.co.th

Share

Related posts

พฤษภาคม 13, 2022

เก้าอี้ไฟฟ้าจาก Johnson


Read more
กุมภาพันธ์ 25, 2022

ออกกำลังกายที่ฟิตเนสVSที่บ้านที่ไหนดีกว่ากัน?


Read more

ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร

  • เกี่ยวกับจอห์นสัน
  • แบรนด์ของเรา
  • รางวัล
  • เทคโนโลยีเฉพาะ
  • FAQs
  • ร่วมงานกับเรา

ข้อมูลสินค้า

  • สินค้าสปอร์ต + ฟิตเนส
  • สินค้า Live Content
  • สินค้าเพื่อสุขภาพ
  • สินค้าโครงการ

การสั่งซื้อสินค้า

  • All Stores
  • ตัวแทนค้าปลีก
  • ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า
  • วิธีการซื้อสินค้า
  • นโยบายการจัดส่งสินค้า

การบริการหลังการขาย

  • Agreement
  • บริการลูกค้าสัมพันธ์
  • การคืนเงินและเปลี่ยนสินค้า
  • เงื่อนไขการรับประกัน
  • ลงทะเบียนรับประกันสินค้า

บริษัท จอห์นสัน เฮลธ์ เทค ประเทศไทย จำกัด

  • 2/3 บางนาทาวเวอร์ ชั้น 9 ม.14 ถ.บางนา-ตราด
  • ต.บางแก้ว อ.บางพลี
  • จ.สมุทรปราการ 10540

เบอร์ติดต่อ: 02-751-9360

หน่วยงานขายปลีก: 090-090-6797

Email: phachara@johnsonfitness.com

หน่วยงานขายโครงการ: 086-974-9102

Email: woraseth@johnsonfitness.com

© 2020 Johnson Health Tech Thailand - All Rights Reserved. Design By KTn develop.
✕

เข้าสู่ระบบ

Connect with

Login with Google


Connect with

Login with Google


คุณจำรหัสผ่านไม่ได้?

ต้องการสร้างบัญชีผู้ใช้ใหม่หรือไม่?

We are using cookies to give you the best experience on our website.

Johnson Health Tech co.,Ltd. ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Johnson Health Tech Thailand
Powered by  GDPR Cookie Compliance
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อให้เราสามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดแก่คุณได้ ข้อมูลคุกกี้จะถูกเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณและทำหน้าที่ต่างๆ เช่น การจดจำคุณเมื่อคุณกลับมาที่เว็บไซต์ของเรา และช่วยให้ทีมงานของเราเข้าใจว่าส่วนใดของเว็บไซต์ที่คุณพบว่าน่าสนใจและมีประโยชน์มากที่สุด

Strictly Necessary Cookies

Strictly Necessary Cookie should be enabled at all times so that we can save your preferences for cookie settings.

ควรเปิดใช้งานคุกกี้ที่จำเป็นอย่างเคร่งครัดตลอดเวลา เพื่อให้เราสามารถบันทึกการตั้งค่าของคุณสำหรับการตั้งค่าคุกกี้

If you disable this cookie, we will not be able to save your preferences. This means that every time you visit this website you will need to enable or disable cookies again.

หากคุณปิดใช้งานคุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถบันทึกการตั้งค่าของคุณได้ ซึ่งหมายความว่าทุกครั้งที่คุณเยี่ยมชมเว็บไซต์นี้ คุณจะต้องเปิดหรือปิดการใช้งานคุกกี้อีกครั้ง

3rd Party Cookies

This website uses Google Analytics to collect anonymous information such as the number of visitors to the site, and the most popular pages.

Keeping this cookie enabled helps us to improve our website.

เว็บไซต์นี้ใช้ Google Analytics เพื่อรวบรวมข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ และหน้ายอดนิยม

การเปิดใช้งานคุกกี้นี้จะช่วยให้เราปรับปรุงเว็บไซต์ของเราได้

Please enable Strictly Necessary Cookies first so that we can save your preferences!

โปรดเปิดใช้งานคุกกี้ที่จำเป็นอย่างเคร่งครัดก่อนเพื่อให้เราสามารถบันทึกการตั้งค่าของคุณได้!

Cookie Policy

More information about our Cookie Policy

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรา Cookie Policy